โครงการพระราชดำริ

ประวัติความเป็นมาโครงการในพระราชดำริ
โครงการแกล้งดิน
โครงการชั่งหัวมัน
โครงการฝนหลวง
โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา
โครงการฝายชะลอน้ำ
โครงการแก้มลิง

เว็บไซต์ยอดฮิต

facebook
youtube
google
 

โครงการฝนหลวง


โครงการฝนหลวง โครงการฝนหลวงเกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคและการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง"ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลอง ปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี ๒๕๑๒ ด้วยความสำเร็จของโครงการ จึงได้ตราพระราชกฤษฏีกาก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง"ต่อไป ปฏิบัติการฝนหลวง คณะปฏิบัติงานโครงการฝนหลวงได้ศึกษาทดลองและพัฒนาวิธีการทำฝนเทียมอย่างต่อเนื่อง จนค้นพบวิธีการ ทำฝนเทียมแบบใหม่ ซึ่งแตกต่างจากวิธีปฏิบัติที่ใช้ในต่างประเทศ เรียกได้ว่าเป็นกรรมวิธีของประเทศไทย โดยเฉพาะ และได้นำมาปฏิบัติการช่วยเหลือราษฏรเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2514 กรรมวิธีใหม่ นี้เกิดจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพัฒนาขึ้นด้วยพระองค์เอง โดยทรงร่วมปรึกษา-หารือกับหม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2516 ทรงพระกรุณาสรุปกรรมวิธีการทำฝนหลวงเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การก่อกวน คือ การดัดแปรสภาพอากาศหรือก้อนเมฆในขณะนั้น เพื่อกระตุ้นให้มวลอากาศชื้นไหลพาขึ้นสู่เบื้องบน อันเป็นการชักนำไอน้ำหรืออากาศชื้นเข้าสู่กระบวนการเกิดเมฆ ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน คือ การดัดแปรสภาพอากาศ เพื่อทำให้เมฆเจริญขึ้นจนเป็นก้อนขนาดใหญ่ หนาแน่นมาก จนพร้อมที่จะตกเป็นฝน ขั้นตอนที่ 3 ขั้นโจมตี คือ การดัดแปรสภาพอากาศที่จะกระตุ้นให้เม็ดละอองเมฆปะทะชนกัน แล้วรวมตัวเข้าด้วยกันจนมีขนาดใหญ่ขึ้น  
โรงเรียนจักราชวิทยา อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา
นายอดิศร สัมกลาง เลขที่ 3 ม.4/2